ความสัมพันธ์ทางการค้ากับสหรัฐอเมริกา
ความสัมพันธ์ใกล้ชิดของสหรัฐอเมริกาและปานามาได้รับความเข้มแข็งโดยข้อตกลงการค้าเสรีทวิภาคี (TPA) ที่ได้ลงนามเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ.2007 ได้รับการอนุมัติจากปานามา วันที่ 11 กรกฎาคม ค.ศ.2007 และ ลงนามในกฎหมายในประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม ค.ศ.2011 และมีผลบังคับใช้ในทั้งสองประเทศวันที่ 31 ตุลาคม ค.ศ.2012 และเปิดเสรีอย่างมีนัยสำคัญทางด้านการค้าสินค้าและการบริการ เพราะปานามามีฐานเศรษฐกิจส่วนใหญ่ที่สำคัญ ในอดีตปานามาได้ขาดดุลการค้ากับประเทศสหรัฐอเมริกาจึงทำให้ปานามาพยายามลดการนำเข้าจากสหรัฐอเมริกา โดยในปีค.ศ.2018 สหรัฐอเมริกาส่งออกสินค้าไปปานามาเกือบ 6.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ และนำเข้าสินค้า 462 ล้านเหรียญ ส่วนการบริการของสหรัฐอเมริกาการส่งออกไปปานามามีมูลค่า 1.6 พันล้านดอลลาร์ในปี ค.ศ. 2017 ในขณะที่บริการนำเข้าจากปานามามีจำนวนเกือบ 1.3 พันล้านเหรียญ สินค้าของสหรัฐอเมริกาที่ลงทุนโดยตรงในปานามาอยู่ที่ 4.7 พันล้านเหรียญสหรัฐในปีค.ศ.2017 นำโดย บริษัท โฮลดิ้งที่ไม่ใช่ธนาคาร, ขายส่งการค้า การเงินและการประกันภัย
อย่างไรก็ตามมีความกังวลเกี่ยวกับจีนในเรื่องการลงทุนในปานามา มันเกี่ยวกับสิ่งที่เขาเรียกว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น และการขึ้นมาบริหารของทรัมป์ที่มีความเคลือบแคลงใจในความสัมพันธ์ของจีนและปานามา ทำให้ในเดือนกันยายน ค.ศ.2018 สหรัฐฯได้เรียกคืนนักการทูตชั้นสูงจากปานามา เอลซัลวาดอร์และสาธารณรัฐโดมินิกัน ซึ่งเป็นสามประเทศที่ตัดความสัมพันธ์กับไต้หวันเพื่อเอาใจประเทศจีนกลับอเมริกา เพื่อเป็นการแสดงความไม่พอใจของ 3 ประเทศนี้ และในเวลานั้นประธานาธิบดี Varela อออกแถลงการณ์เพื่อขอความเชื่อใจจากชาวปานามาในการตัดสินใจเกี่ยวกับอธิปไตย
ลักษณะที่ทำให้ปานามาเป็นยุทธศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา
-
โครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่ง (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องคลอง)
-
เขตการค้าเสรีใช้ดอลลาร์สหรัฐเป็นสกุลเงินและภาคการเงินขนาดใหญ่
การนำเข้าของประเทศปานามา
-
จีน ($ 5.96B)
-
สหรัฐอเมริกา ($ 4.65B)
-
โคลัมเบีย ($ 2.58B)
-
เกาหลีใต้ ($ 1.64B)
-
สิงคโปร์ ($ 1.39B)
การส่งออกของประเทศปานามา
-
เอกวาดอร์ ($ 848M)
-
เนเธอร์แลนด์ ($ 299M)
-
สหรัฐอเมริกา ($ 249M)
-
เกาหลีใต้ ($ 132M)
-
เม็กซิโก ($ 103M)
สินค้าที่ปานามาส่งออกไปสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ.2017
-
เนื้อปลาสด 23% = $56.3M
-
สัตว์น้ำ (กุ้ง ปู) 12% = $30.9M
-
ทอง 8.8% = $22M
สินค้าที่ปานามาส่งออกไปสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ.2017
-
น้ำมันกลั่น 49% = $2.29B
-
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (วิสกี้ บรั่นดี รัม วอดก้า ) 2.6% = $120M
-
คอมพิวเตอร์ 2.2% = $101M
จากตารางแสดงให้เห็นว่าประเทศปานามามีการนำเข้าจากสหรัฐอเมริกามูลค่ารวมทั้ง $4.65B ซึ่งการส่งออกสินค้าของปานามาไปสหรัฐอเมริกาเป็นรวมมูลค่าแล้วแค่เพียง $249M เป็นจำนวนตัวเลขที่แตกต่างกันอย่างมาก เพราะปานามาเป็นประเทศที่ไม่ได้ทรัพยากรเพียงพอที่จะอยู่ได้ลำพัง เพราะขาดเทคโนโลยี และขาดทรัพยากรที่จำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ ทำให้ต้องพึ่งพาประเทศสหรัฐอเมริกา เนื่องจากอเมริกามีทรัพยากรครบทุกอย่างที่ต้องการ ดังนั้นการที่ปานามานำเข้าสินค้ามาเยอะกว่าการส่งออกทำให้ประเทศปานามาขาดดุลทางการค้า