ช่วงสำคัญที่อเมริกามีอิทธิพลต่อประเทศปานามา
ปานามาเป็นประเทศที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ไม่ว่าจะเป็นการส่งออกและการนำเข้าสินค้าของสหรัฐจำนวนมากที่ผ่านคลองปานามาแถบทุกวัน มากกว่า 10% ของการจัดส่งทั้งหมดของเอมริกา ดังนั้นปานามาจึงเป็นประเทศในละตินอเมริกาที่สหรัฐให้ความสำคัญ เพราะคลองปานามาถือเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญมากที่สุดสำหรับสหรัฐอเมริกามันเป็นประตูสู่การควบคุมการเข้าถึงและจากมหาสมุทรที่ยิ่งใหญ่ที่สุดสองแห่งคือมหาสมุทรแอตแลนติกและแปซิฟิก ประตูทะเลอันยิ่งใหญ่นี้ใช้เวลาเกือบ 85 ปีที่ควบคุมการไหลของสินค้าทางทะเลจากทางทิศตะวันออกไปยังซีกโลกตะวันตกและจากทางตะวันตกไปทางทิศตะวันออก เพราะสามารถที่จะเดินทางได้สะดวกอีกทั้งยังเป็นคลังการค้าที่สำคัญของหลายประเทศที่มารวมกันอยู่ที่นี้ จึงทำให้ประเทศมหาอำนาจต่างๆพยายามเข้ามาเป็นคู่ค้าและเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือกับปานามาเพื่อผลประโยชน์อันมหาศาลนี้ โดยประเทศอเมริกามีบทบาทสำคัญมากที่พยายามเข้ามามีอิทธิพลในปานามาแต่จะเป็นช่วงแรกๆซะส่วนใหญ่
1. ในปี ค.ศ.1902 สหรัฐอเมริกาได้เจราจาขอซื้อโครงการขุดคลองจากบริษัทของฝรั่งเศสมาทำเอง เนื่องจากฝรั่งเศสได้ล้มเหลวในการสร้างคลองที่เชื่อมต่อมหาสมุทรแอตแลนติกและมหาสมุทรแปซิฟิก สหรัฐฯตัดสินใจที่จะรับโครงการนี้และการก่อสร้างเริ่มขึ้นในปี ค.ศ.1904 คนงานจากทั่วโลกไม่ใช่แค่ปานามาสร้างคลองและเปิดอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ.1914 โดยสหรัฐฯเสียค่าโครงการก่อสร้างขุดคลอง 375 ล้านดอลลาร์ โดยทัศนคติของสหรัฐอเมริกาที่มีต่อปานามาในช่วงนั้นลักษณะเป็นแบบลัทธิจักรวรรดินิยม เนื่องจากชาวอเมริกันอ้างอำนาจเหนือชาวปานามาและ ไม่สนใจการปฏิบัติต่อแรงงานในปานามา อีกทั้งสหรัฐอเมริกาและปานามาได้ลงนามในสนธิสัญญา Hay-Bunau-Varilla ซึ่งภายใต้สนธิสัญญาได้ระบุว่าเขตคลองได้รับการอนุญาตให้อยู่ในสหรัฐอเมริกา โดยในแต่ละข้อของสัญญาคลองปานามานี้สร้างมาเพื่อจัดการ เสริมสร้างและปกป้องคลองตามแนวมหาสมุทร หลังจากนั้นมีเหตุการณ์ความขัดแย้งเกิดขึ้น เรื่องของอธิปไตยในคลอง โดยประชาชนชาวปานามาได้ใช้ธงประจำชาติมาปักไว้บริเวณคลองเพื่อยืนยันอำนาจอธิปไตยของตนเอง แต่สหรัฐฯมองว่าธงปานามาต้องถูกยกขึ้นถัดจากธงชาติอเมริกัน จึงทำให้ประชาชนชาวปานามาไม่พอใจและเกิดเหตุการณ์ประท้วงที่รุนแรง ทำให้ชาวปานามาเสียชีวิตจำนวนมาก และรัฐบาลปานามาประกาศตัดความสัมพันธ์กับสหรัฐอเมริกา แต่ปานามาก็ได้พยายามต่อรองข้อเรียกร้องนี้มาตลอดจนในปี ค.ศ.1977 ประธานาธิบดี Jimmy Carter และนายพล Omar Torrijos ลงนามในสนธิสัญญา Torrijos-Carter เป็นการรับประกันกรรมสิทธิ์เขตอำนาจคลองของปานามา โดยมีผลบังคับใช้ในปี ค.ศ.1999 ในขณะนั้นชาวอเมริกันจำนวนมากไม่ชอบการตัดสินใจนี้เพราะพวกเขารู้สึกว่า ตั้งแต่สหรัฐฯสนับสนุนการก่อสร้างพวกเขาควรมีสิทธิ์ที่จะเป็นเจ้าของคลองแทนปานามา
2. ในปีค.ศ. 1986 Noriega ผู้นำเผด็จการทหารของปานามา ตอนแรกทำงานให้กับสหรัฐฯ แต่ต่อมาได้ทำหน้าที่เป็นตัวแทนสองทางสำหรับสำนักข่าวกรองของคิวบาและ Sandinistas ต่อมาในปีค.ศ. 1988 เขาถูกฟ้องร้องโดยคณะลูกขุนใหญ่ในแทมปาและไมอามีในข้อหาลักลอบขนยาเสพติดและการฟอกเงิน และในปีค.ศ. 1989 สหรัฐอเมริกาได้บุกปานามาเพื่อกำจัด Manuel Noriega จากอำนาจ เนื่องจากNoriega ปฏิเสธที่จะก้าวลงจากตำแหน่งอีกทั้งยังใช้อำนาจในการปิดกั้นคู่ต่อสู้ทางการเมือง จึงทำให้สหรัฐฯเข้ามาบังคับให้ Noriega ออกจากอำนาจ
การที่สหรัฐเข้ามามีอิทธิพลในปานามาทั้ง 2 เหตุการณ์เป็นรูปแบบของการช่วยเหลือ ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินการสร้างคลองหรือจะเป็นการขยายคลอง การที่ทำแบบนี้เพื่อผลประโยชน์ของอเมริกาเอง เนื่องจากอเมริกาต้องการกระจายสินค้าไปประเทศอื่นๆ เลยมองว่าการมีคลองปานามานี้เป็นกลยุทธ์ที่ดีต่อตัวอเมริกาเอง ส่วนการเข้ามาช่วยในการขับไล่ผู้นำเผด็จการนั้น เพื่อปกป้องปานามาให้ปกครองอยู่ภายใต้ประชาธิปไตยที่มีผู้นำมาจากการเลือกตั้ง เพื่อที่ผู้นำคนใหม่จะมีนโยบายที่ไม่กีดกันและรักษาผลประโยชน์ให้กับอเมริกา
แต่ปัจจุบันอเมริกาไม่ได้มีบทบาทหรืออิทธิพลต่อปานามาเหมือนเมื่อก่อนแล้ว เนื่องจากมีประเทศมหาอำนาจอื่นข้ามาหาปานามามากขึ้น เช่น ประเทศจีน ได้เข้ามาสถาปนาทางการทูตความสัมพันธ์กับปานามา ได้มีการลงนามในข้อตกลงทวิภาคีกว่า 30 ข้อ ในปี ค.ศ. 2018 ซีจินผิงได้กลายเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของจีนที่มาเยือนปานามาพร้อมด้วยคณะผู้บริหารจาก บริษัท หลายสิบแห่งในภาคการก่อสร้างโทรคมนาคมและการเงินของประเทศ โดยผู้นำของปานามามองว่าจีนเป็นแหล่งการค้าและการลงทุน เนื่องจากประเทศปานามาไม่ได้เงินทุนมากพอ และการที่ปานามาหันไปร่วมมือกับจีน ทำให้อเมริกาไม่พอใจ จึงเกิดความตึงเครียดระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ส่วนปานามาก็ win-win ได้ประโยชน์ทั้งสองทาง เพราะถ้าอเมริกาตัดความสัมพันธ์กับปานามา อเมริกาก็จะเสียรายได้ที่ส่งออกทางเรือส่วนนี้ไป จึงทำให้อเมริกาไม่สามารถตัดความสัมพันธ์นี้ได้เพราะต้องการผลประโยชน์ส่วนนี้ ส่วนปานามาก็ยังคงมีจีนรองรับถ้าตัดความสัมพันธ์กับอเมริกา แต่ก็เสียผลประโยชน์เหมือนกันแต่คงไม่เท่ากับที่อเมริกาต้องเสียไป