Economic Information
ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาปานามาเป็นประเทศที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วแห่งหนึ่งของโลก โดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ย 5.6% ตลอดห้าปีที่ผ่านมา เมื่อพิจารณาจากโมเมนตัมที่เกิดจากเหมือง Cobre Panama การเติบโตของปานามาในปีนี้คาดว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว เป็น 3.7 เปอร์เซ็นต์ ในปี 2018 เป็น 6 เปอร์เซ็นต์ในปี 2019 โดยปานามาติดอันดับประเทศที่เศรษฐกิจที่เติบโตเร็วที่สุดเป็นอันดับสองในลาตินอเมริกา
อย่างไรก็ตามในบริบทระดับโลกที่มีการแข่งขันสูงขึ้น อาจมีความเสี่ยงได้เนื่องจากเศรษฐกิจปานามามีพื้นฐานมาจากการจราจรผ่านคลองและการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ในส่วนของการเติบโตอาจได้รับผลกระทบจากข้อพิพาททางการค้าระหว่างประเทศที่ยืดเยื้อหรือการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกได้เช่นกัน
ปานามามีความก้าวหน้าในการลดความยากจน การเติบโตทางเศรษฐกิจและการเข้าถึงสาธารณะได้ช่วยลดความยากจนลงอย่างมาก ระหว่างปี 2015 ถึง 2017 ความยากจนลดลงจาก 15.4 เป็น 14.1 เปอร์เซ็นต์ แม้ปานามาจะมีก้าวหน้ามากขึ้นในการลดความยากจน แต่ความแตกต่างในภูมิภาคยังคงมีอยู่ให้เห็นอยู่
ปานามาอยู่ในตำแหน่งเหมาะสมที่จะดำเนินการต่อไปสู่ “Twin Golds” ของธนาคารโลกในการยุติความยากจนและส่งเสริมความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน แต่การเติบโตอย่างยั่งยืนและต่อเนื่องในระยะปานกลางถึงระยะยาวนั้นจะต้องมีการแก้ไขปัญหาสำคัญ ๆ เหล่านี้รวมถึงการปรับปรุงการศึกษาและทักษะในประเทศเช่นเดียวกับโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญและประสิทธิผลของสถาบันสาธารณะเสียก่อน
แผนยุทธศาสตร์5ปีกับการพัฒนาของรัฐบาล 2015-2019
-
เพิ่มผลผลิตและการเติบโตที่หลากหลาย
-
การยกระดับคุณภาพชีวิต
-
เสริมสร้างทุนชีวิตของมนุษย์
-
การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน
-
การปรับปรุงความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมรวม
ประเทศปานามามีความโดดเด่นทางภูมิศาสตร์ที่เชื่อมต่ออเมริกาใต้กับอเมริกาเหนือ และเชื่อมสองมหาสมุทร (แปซิฟิกกับแอตแลนติก) จนถูกเรียกว่าเป็น “สี่แยกของโลก” ที่จะเปิดประเทศสู่ภายนอกเป็นลักษณะพิเศษทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะเขตการค้าเสรีโคโลน (Colón) ที่อยู่ฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกตามคลองนั้นเป็นเขตการค้าเสรีใหญ่ที่สุดของโลกตะวันตก และก็เป็นเขตการค้าเสรีใหญ่อันดับที่สองของโลก
มิติทางยุทธศาสตร์ - ปานามาเป็นประเทศที่มีความเข้มแข็งในการเชื่อมต่อกับพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วโลก โดยในขณะนี้ปานามากำลังเร่งขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ระบบการขนส่งแห่งชาติปี 2030 เพื่อพัฒนาประเทศปานามาให้เป็นศูนย์กลางด้านการขนส่งระดับโลก ซึ่งยุทธศาสตร์นี้สอดรับกับโครงการความริเริ่ม “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” (Belt and Road Initiative : BRI) และประเทศปานามาก็เป็นประเทศลาตินอเมริกาประเทศแรกที่ร่วมลงนามในบันทึกช่วยจำเพื่อความเข้าใจของโครงการความริเริ่มดังกล่าวกับจีน
ทรัพยากรที่สำคัญและการส่งออก
ทรัพยากร - ทองแดง ป่าไม้มะฮอกกานี กุ้งพลังน้ำ
ผลิตภัณฑ์เกษตร - กล้วย ข้าว ข้าวโพด กาแฟ อ้อย ผัก ปศุสัตว์ กุ้ง
อุตสาหกรรม - การก่อสร้าง เบียร์ ซีเมนต์และวัสดุก่อสร้าง